วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่างนวัตกรรม

Best Practice โรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคม
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การใช้ ICT ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Backward Design



แผนผัง แสดงการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์


วัตถุประสงค์ในการพัฒนานวัตกรรม
จากการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาในการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์
ของโรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคม คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์จึงได้
จัดทำโครงการเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ พัฒนาการเปลี่ยนแปลง
การเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ ICT ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด
Backward Design
การดำเนินงานใช้หลักการบริหารวงจรแห่งความสำเร็จ (PDCA)
1. การประชุมวางแผนการปฏิบัติงาน
2. จัดตั้งคณะทำงาน
2.1 คณะกรรมการประสานงาน
2.2 คณะกรรมการดำเนินงาน ด้าน Backward Design
2.3 คณะกรรมการดำเนินงาน ด้าน โปรแกรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
2.4 คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงาน
3. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับบุคลากรในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
4. ดำเนินงานตามแผนและปฏิบัติที่กำหนด
5. นิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินงาน
6. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
กระบวนการพัฒนา
โครงการพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ ICT ในการจัดการเรียนรู้
ตามแนวคิด Backward Design
1. การฝึกอบรมการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ กระบวนการ Backward Design

2. การฝึกอบรม การใช้ e-Learning , GSP และการสร้าง Website
3. การจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ตามแผนการจัดการเรียนรู้
4. ประเมินและติดตามการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ครู นักเรียน)

ลักษณะของนวัตกรรม
ลักษณะของนวัตกรรม กระบวนการ Backward Design
การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและ

การพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูมืออาชีพ

การเรียนรู้และการทำงานของครูต้องไม่แยกจากกัน ครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

การเรียนรู้ของครูเกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับเพื่อนครู

ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ แล้วนำความรู้เหล่านนั้นไปประยุกต์ใช้

ในการจัดการเรียนการสอนของตน การไตร่ตรอง ทบทวน พัฒนา ปรับปรุง

เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครู ทำให้เกิดความเข้าใจผลของการลงมือปฏิบัติ

แล้วนำผลการปฏิบัตินั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ เผยแพร่ต่อผู้อื่น
การนำแนวทางการพัฒนาของครูจะช่วยให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียน

เกิดผลโดยตรงต่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักเรียน ให้มีคุณลักษณะ

เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สามารถคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ

มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
ที่มาของ Backward Design
ปัญหาจากการสอบแบบ multiple Choices : teach test and hope for the best!

สอนเพื่อให้ผู้เรียนจำ ไม่ใช้เข้าใจ l การวัดประเมินผล มุ่งวัดประเมินว่า
ผู้เรียนจำอะไรได้บ้างจากสิ่งที่ครูบอก เล่า ให้ฟัง หรือ อ่านมา ไม่สอดคล้องกับชีวิตจริง
การสอนของครูสอนแบบอ้างถึงความรู้ teaching by mention ผู้เรียนไม่ได้ลงมือปฏิบัติ

หลักการของ Backward Design
กระบวนการออกแบบถอยหลังกลับ (Backward Design)

ของ Wiggins และ McTighe เริ่มจากคิดทุกอย่างให้จบสิ้นสุดจากนั้น
จึงเริ่มต้นจากปลายทางที่ผลผลิตที่ต้องการ (เป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้)
สิ่งนี้ได้มาจากหลักสูตร เป็นหลักฐานพยานแห่งการเรียนรู้ ( Performances)

ซึ่งเรียกว่า มาตรฐานการเรียนรู้ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอน
ในสิ่งที่จำเป็นให้กับนักเรียนเพื่อเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่
การสร้างผลงานหลักฐานแห่งการเรียนรู้นั้นได้
1. หลักการของ Backward Design
กระบวนการออกแบบแบบถอยหลังกลับ (Backward Design)

ของ Wiggins และMcTighc เริ่มจากคิดทุกอย่างให้จบสิ้นสุดจากนั้น
จึงเริ่มต้นจากปลายทางที่ผลผลิตที่ต้องการ (เป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้)
สิ่งนี้ได้มาจากหลักสูตร เป็นหลักฐานพยานแห่งการเรียนรู้ (Performances)
ซึ่งเรียกว่า มาตรฐานการเรียนรู้ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอน
ในสิ่งที่จำเป็นให้กับนักเรียนเพื่อเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่
การสร้างผลงานหลักฐานแห่งการเรียนรู้นั้นได้
กระบวนการออกแบบการวางแผนของครูผู้สอนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน

อย่างต่อเนื่องกัน 3 ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนประกอบด้วยคำถามที่ว่า
ขั้นตอน 1 : อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า
ขั้นตอน 2 : อะไรคือพยานหลักฐานของความเข้าใจ
ขั้นตอน 3 : ประสบการณ์การเรียนรู้และการสอนอะไรที่จะสนับสนุน
ทำให้เกิดความเข้าใจ ความสนใจ และความยอดเยี่ยมในหลักฐานนั้นๆ …
ขั้นตอนที่ 1 : อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า
การใช้หลักการออกแบบแบบถอยหลังกลับ อันดับแรกครูผู้สอนควรทำคือ
การให้ความสำคัญที่เป้าหมายการเรียนรู้ (Learning goals)
หรือเป้าหมายของความเข้าใจ ความเข้าใจที่ว่านี้คือ ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืน
(Enduring Understanding) ที่ครูผู้สอนทุกคนต้องการให้นักเรียนของพวกเขา
ได้รับการพัฒนาไปให้ถึงจุดหมายปลายทางตามลำดับขั้นการเรียนรู้บรรลุผล
ที่สำเร็จสมบูรณ์ที่สุด สิ่งนี้ก็เป็นจุดเน้นสำคัญที่จะขาดเสียมิได้รวมทั้งแนวทางดำเนินการ
ชุดคำถามที่สำคัญด้วยเช่นกัน ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืนมีระดับที่
เหนือกว่าสูงกว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ และทักษะต่างๆ ที่มุ่งไปสู่ความคิดรวบยอดใหญ่ ๆ
หลักการต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ
ความเข้าใจที่ได้คัดเลือกไว้บางทีอาจเป็นความเข้าใจที่สำคัญมากๆ
หรือความเข้าใจในระดับหน่วยการเรียนรู้ ลำดับขั้นตอนความเข้าใจ
(สิ่งเหล่านี้ พวกเราหวังว่าจะเป็นตัวช่วยให้บรรลุผลความเข้าใจในแต่ละระดับ
ตลอดระยะเวลาในลำดับขั้นตอนของการเรียนรู้) ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
ขั้นตอนที่ 2 : อะไรคือหลักฐานพยานของความเข้าใจ
ครูผู้สอนต้องตัดสินใจต่อไปว่า ความเข้าใจเหล่านี้ นักเรียนจะนำเสนอ

หรือสาธิต แสดงออกให้เห็นได้อย่างไรว่านักเรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง
Wiggins and Mctighe ได้ให้รายละเอียดของความเข้าใจ 6 ประการ
(Six facets of understanding) โดยเชื่อว่านักเรียนจะมีความเข้าใจอย่างแท้จริง
เมื่อนักเรียนสามารถ
Ÿ อธิบายชี้แจงเหตุผล (can explain)
Ÿ แปลความตีความ (can interpret)
Ÿ ประยุกต์ (can apply)
Ÿ มีเทคนิคการเขียนภาพที่เห็นด้วยตาจริง (have perspective)

Ÿ สามารถหยั่งรู้มีความรู้สึกร่วม (can empathize)
Ÿ มีองค์ความรู้เป็นของตนเอง (have self – knowledge)

ทั้ง 6 ด้านของความเข้าใจสามารถช่วยสนับสนุน ให้เกิดความเข้าใจ

ตามธรรมชาติของความเข้าใจและมีหนทางหลากหลาย ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป

เกี่ยวกับความเข้าใจ เพื่อความสมเหตุสมผลกับรูปแบบการเรียนรู้(Learning styles)

นักเรียนจะนิยมชมชอบบางข้อเท็จจริง
ในส่วนของกระบวนการวางแผนนี้ อะไรที่ทำให้ “backward design”

แตกต่างจากกระบวนการวางแผนที่เคยปฏิบัติเป็นประเพณีมาตั้งแต่ดั้งเดิม
ก่อนการวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจต่างๆ

คณะครูผู้สอนมีความจำเป็นต้องวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการประเมินผลขึ้นก่อน
ในขณะ เดียวกันก็เน้นถึงความสำคัญให้เกิดความชัดเจน
ในการพัฒนาผลงาน/ภาระงานความสามารถ (Performance tasks)

ด้วย Wiggins and Mctighe สนับสนุนความพอเหมาะที่ได้สัดส่วน
ของการประเมินผล ซึ่งเป็นการใช้การประเมินผลที่มากกว่าแบบดั้งเดิม
อันประกอบด้วย การสังเกต การสอบย่อย การใช้แบบสอบประเภทต่าง ๆ
การกำหนดแนวทางเพื่อใช้คัดเลือกขอบเขตของ การประเมินผล

ผลงาน/ภาระงานต่างๆ และการแสดงความสามารถต่างๆ ต้อง

Ÿ สนับสนุน ช่วยเหลือให้นักเรียนได้มีการพัฒนาความเข้าใจ (Developing understand)

Ÿ ให้โอกาสกับนักเรียนได้นำเสนอ อธิบายถึงความสามารถในความเข้าใจ

ผลงาน/ภาระงาน (tasks) ต้องมีการจำแนกแยกแยะ
และระดับของความแตกต่างหรือชั้นของความเข้าใจอีกด้วย
ขอเน้นถึงความสำคัญ การประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
และควรจะมีอยู่ (มีการประเมินผลอยู่ตลอด) ตั้งแต่ต้นจนจบของลำดับขั้นตอน

มิใช่นำมาใช้เมื่อจบหน่วยหรือจบรายวิชาเท่านั้น
ขั้นตอนที่ 3 : อะไรคือประสบการณ์การเรียนรู้และจะสอนอย่างไร
ในขั้นตอนที่ 3 ของกระบวนการ backward design
ครูผู้สอนออกแบบในลำดับขั้นตอนคิดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้
เพื่อให้นักเรียนรับผิดชอบดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ
เพื่อเป็นการพัฒนาความเข้าใจ (develop understanding)
การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจะมีระดับที่เหนือกว่ามากกว่าการจำได้
ในเนื้อหาวิชาที่เรียน นักเรียนต้องได้รับการจัดกิจกรรมตามแผนการเรียนรู้

ที่เป็นไปได้สำหรับนักเรียนผู้ที่สืบค้น (Inquiries) ประสบการณ์โดยตรง
กระบวนการให้เหตุผล (Arguments) การประยุกต์นำไปใช้
และจุดของภาพที่ซ้อนเร้นอยู่ข้างล่างของข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็นต่างๆ
ที่พวกเขาเรียนรู้ ถ้าพวกเขามีความเข้าใจในสิ่งนั้น ๆ
ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้ ต้องการให้ผู้เรียน :

Ÿ สร้างทฤษฎี อธิบายชี้แจง แปลความ ตีความ,

ใช้หรือมองเห็นด้วยจินตทัศน์ (perspective) ในสิ่งที่พวกเขาต้องการเรียนรู้
ซึ่งพวกเขาก็ไม่จำเป็นว่าจะต้อง มีความเข้าใจที่เหมือนๆ กัน หรือมีความสามารถ
ในความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าที่จะจดจำ
ประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้ ต้องผสมกลมกลืนทั้งในแนวกว้างและแนวลึก
และจะต้องเป็นทางเลือกที่ต้องการและได้รับการยอมรับ ประสบการณ์เหล่านี้ที่
จะถูกนำไปดำเนินการในเชิงลึกซึ่งต้องการให้นักเรียนเจาะลึก (unearth)

วิเคราะห์แยกแยะ ตั้งคำถาม พิสูจน์และวางหลักเกณฑ์ทั่ว ๆ ไป
การที่ให้ประสบการณ์มีลักษณะกว้างเพื่อต้องการให้นักเรียนทำการเชื่อมโยง
มองเห็นภาพ (ตัวแทนหรือรูปจำลอง) และขยายความคิดให้กว้างแผ่ออกไป
สิ่งที่สำคัญก็คือความชัดเจนในวิธีการที่อิงแนวทางแสวงหาความรู้
(Inquiry – Based Approach) ที่ต้องการ “ไม่จำกัดขอบเขต (uncovering)” ในการเลือกเนื้อหา
2. การทบทวนและขัดเกลา (Review and Refine)

ดูเหมือนว่าในแบบจำลองของการวางแผนทั้งหมดของ “Backward Design”

ต้องการกระบวนการปรับปรุงแก้ไขและสิ่งที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขขัดเกลาแล้ว
ในทุกขั้นตอนในกระบวนการของการวางแผน
“ การคิดสร้างสรรค์ของการใช้หน่วยการเรียนรู้ของกระบวนการวางแผนด้วย
Backward Design มิใช่สิ่งอัศจรรย์ยิ่งใหญ่ สบายหรือกระบวนการง่าย ๆ
มันคือสิ่งหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมาพิจารณากันใหม่ คุณจะต้องกลับไปและ
ผ่าให้ทะลุเข้าในแผนผังหลักสูตร ทำการปรับปรุงกระบวนการและขัดเกลาตลอดเวลา
เมื่อคุณผนวกบางสิ่งบางอย่างลงไปในส่วนของการวางแผนของคุณ”
Backward Design และการเรียนรู้ในสิ่งที่สำคัญๆ กรอบแนวความคิดนี้
มีประโยชน์ต่อการใช้สอย เมื่อแบบจำลอง backward design ถูกนำไปใช้
เป็นกรอบแนวความคิดเชื่อมโยงกันทั้ง 3 ขั้นตอนของแบบจำลอง (model)
เกี่ยวข้องกับกรอบแนวความคิดการเรียนรู้ที่สำคัญและเอกสารด้านอื่น ๆ ที่มีประโยชน์
3. เป้าหมายของหน่วย (Module)
นำเสนอความเข้าใจเชิงลึกในมาตรฐานการเรียนรู้และวิธีการศึกษา

ที่อิงมาตรฐาน ความคิดตลอดแนวของการวางแผนหลักสูตร
การพัฒนาการประเมินผลย่อยและประเมินผลรวบยอด

(formative and summative assessments) และการออกแบบ
การเรียนการสอนที่เข้าคู่กับมาตรฐาน การปฏิบัติการที่ดีที่สุดอิงการวิจัย
(research – based practices) สิ่งนี้จะได้รับการวัดผลจาก
การแสดงความสามารถของนักเรียนในการเฝ้าสังเกตความสามารถของนักเรียน
การเฝ้าสังเกตความก้าวหน้าและการใช้แบบสอบมาตรฐานอิงเกณฑ์
(Standardized criterion – referenced tests)
คำสำคัญจากเป้าหมาย
Ÿ ความเข้าใจเชิงลึก
Ÿ มาตรฐานการเรียนรู้
Ÿ การศึกษาอิงมาตรฐาน
Ÿ การปฏิบัติการที่ดีที่สุดอิงการวิจัย
หมายเหตุ ที่ว่าเป้าหมายนี้จะไม่บรรลุผลภายในหนึ่งวัน

ควรจะนำไปที่การเตรียมการและภายใน 8 วัน แห่งการจัดการเรียนการสอน

ในชั้นเรียน เป้าหมายนี้ ก็จะบรรลุผล หลายวันแห่งการฝึก (training)
จะจัดสรรองค์ประกอบที่แตกต่างกันของเป้าหมาย,อย่างเช่น การวางแผนหลักสูตร
การประเมินผลและการเรียนการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น